บทพากย์เอราวัณ



บทพากย์รามเกียรติ์ตอน เอราวัณ
ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ที่มาของเรื่อง ได้เค้าโครงเรื่องมาจากรามายณะ ของอินเดีย
ความมุ่งหมาย ให้เห็นโทษของความลุ่มหลงในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัสจะนำมาซึ่งความประมาท
อันเป็นเหตุแห่งหายนะ เช่น พระลักษมณ์และไพร่พลวานรที่มัวแต่เพ่งดูเทวดา
(แปลง) อย่างเพลิดเพลิน จนต้องศรของอินทรชิตในที่สุด
เนื้อหาของเรื่อง พรรณนาถึงความยิ่งใหญ่ งดงามของกระบวนทัพของอินทรชิตซึ่งแปลงตัวเป็น
พระอินทร์ ช้างเอราวัณและเหล่าเทวดา
ลักษณะคำประพันธ์ กาพย์ฉบัง ๑๖
- ๑ บทมี ๓ วรรค แบ่งเป็นวรรคแรก ๖ คำ วรรคสอง ๔ คำและวรรคสาม ๖ คำ
- ใน ๑ บท มีสัมผัสบังคับ ๑ แห่ง คือ
คำสุดท้ายของวรรคแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคสอง
- มีสัมผัสระหว่างบทอยู่ที่คำสุดท้ายของบทแรกกับคำสุดท้ายของวรรคแรกของบทต่อไป
แผนผัง
บทที่ ๑ 000000000 สัมผัสบังคับระหว่างวรรค
000000 สัมผัสระหว่างบท
บทที่ ๒ 000000 0000 สัมผัสบังคับระหว่างวรรค
000000
 
บทพากย์เอราวัณ
 อินทรชิตบิดเบือนกายิน_________เหมือนองค์อมรินทร์ ทรงคชเอราวัณ  ช้างนิมิตฤทธิแรงแข็งขัน________เผือกผ่องผิวพรรณ สีสังข์สะอาดโอฬาร์  สามสิบสามเศียรโสภา_________เศียรหนึ่งเจ็ดงา ดั่งเพชรรัตน์รูจี  งาหนึ่งเจ็ดโบกขรณี ___________สระหนึ่งย่อมมี เจ็ดกออุบลบันดาล  กอหนึ่งเจ็ดดอกดวงมาลย์_______ดอกหนึ่งแบ่งบาน มีกลีบได้เจ็ดกลีบผกา  กลีบหนึ่งมีเทพธิดา____________เจ็ดองค์โสภา แน่งน้อยลำเพานงพาล  นางหนึ่งย่อมมีบริวาร__________อีกเจ็ดเยาวมาลย์ ล้วนรูปนิรมิตมายา  จับระบำรำร่ายส่ายหา__________ชำเลืองหางตา ทำทีดังเทพอัปสร  มีวิมานแก้วงามบวร___________ทุกเกศกุญชร ดังเวไชยันต์อมรินทร์  เครื่องประดับเก้าแก้วโกมิน______ซองหางกระวิน สร้อยสายชนักถักทอง  ตาข่ายเพชรรัตน์ร้อยกรอง_______ผ้าทิพย์ปกตระพอง ห้อยพู่ทุกหูคชสาร  โลทันสารถีขุนมาร_____________เป็นเทพบุตรควาญ ขับท้ายที่นั่งช้างทรง  บรรดาโยธาจัตุรงค์____________เปลี่ยนแปลงกายคง เป็นเทพไทเทวัญ  ทัพหน้าอารักขไพรสัณฑ์_________ทัพหลังสุบรรณ กินนรนาคนาคา  ปีกซ้ายฤาษิตวิทยา____________คนธรรพ์ปีกขวา ตั้งตามตำรับทัพชัย  ล้วนถืออาวุธเกรียงไกร__________โตมรศรชัย พระขรรค์คทาถ้วนตน  ลอยฟ้ามาในเวหน_____________รีบเร่งรี้พล มาถึงสมรภูมิชัย 
ถอดคำประพันธ์
บทที่ ๑ อินทรชิตแปลงกายเหมือนพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
บทที่ ๒ ช้างเอราวัณ (แปลง) เป็นช้างเผือกที่มีรูปร่างใหญ่โตแข็งแรง
บทที่ ๓ (ช้างเอราวัณ) มีเศียรที่งดงาม ๓๓ เศียรและเศียรหนึ่งมีงาอยู่ ๗ งาซึ่งงดงามมาก
บทที่ ๔ งาหนึ่งงามีสระบัวอยู่ ๗ สระ และสระบัวหนึ่งสระมีบัวอยู่ ๗ กอ
บทที่ ๕ กอบัวหนึ่งกอมีดอกบัวอยู่ ๗ ดอก และบัวหนึ่งดอกมีกลีบบัวอยู่ ๗ กลีบ
บทที่ ๖ บัว ๑ กลีบมีเทพธิดาผู้อ่อนเยาวว์และงดงามอยู่ ๗ องค์
บทที่ ๗ เทพธิดาองค์หนึ่งมีบริวาร ๗ ตนล้วนแต่เป็นยักษ์แปลงมาทั้งสิ้น
บทที่ ๘ นางบริวารร่ายรำและชายตาทำท่าทางงดงามราวกับนางฟ้า
บทที่ ๙ ที่เศียรทุกเศียรของช้างเอราวัณมีวิมานแก้วที่งดงามราวกับวิมานเวไชยันต์ของ
พระอินทร์
บทที่ ๑๐ ช้างเอราวัณ (แปลง) ประดับด้วยแก้วเก้าระการ เช่น โกเมนที่ซองหางและ
กระวิน ส่วนที่สายชนักเป็นสร้อยที่ถักด้วยทอง
บทที่ ๑๑ มีตาข่ายร้อยด้วยเพชรสำหรับตกแต่งที่เศียรช้าง มีผ้าทิพปกที่ตระพองของช้าง
และมีผู้ห้อยที่หูทุกหูของช้าง
บทที่ ๑๒ ยักษ์แปลงเป็นโลทันสารถีของพระอินทร์มีหน้าที่บังคับท้ายช้างพระที่นั่งของ
พระอินทร์
บทที่ ๑๓ บรรดาทหารของกองทัพยักษ์ต่างแปลงเป็นเทวดา
บทที่ ๑๔ ทัพหน้าแปลงเป็นเทพารักษ์ ทัพหลังแปลงเป็นครุฑ กินนรและนาค
บทที่ ๑๕ ปีกซ้ายแปลงเป็นฤาษีและวิทยาธร ปีกขวาแปลงเป็นคนธรรพ์ กองทัพจัดตั้ง
ตามตำราพิชัยสงคราม
บทที่ ๑๖ เทวดา (แปลง) ทุกองค์ล้วนถืออาวุธต่าง ๆ เช่น โตมร ศร พระขรรค์และคทา
บทที่ ๑๗ เทวดา (แปลง) ทุกองค์รีบเหาะมายังสนามรบ
แปลรวม

อินทรชิตแปลงกายเป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ช้างเอราวัณอัน (การุณราช) เนรมิตขึ้นนั้นก็ทรงเรี่ยวแรงแกร่งกล้าน่าเกรงขาม ผิวพรรณสีเผือกผ่องประดุจสังข์อันเกลี้ยงเกลา
มี ๓๓ หัว หัวหนึ่งมี ๗ งา เปล่งประกายเรืองรองประดุจเพชรรัตน์
งา หนึ่งนั้นมีสระโบกขรณี ๗ สระ สระหนึ่งมีดอกบัว ๗ กอ กอหนึ่งมี ๗ ดอก แต่ละดอกครั้นบานแล้วนับได้ ๗ กลีบ แต่ละกลีบมีเทพธิดาที่สวยงามแน่งน้อยน่ารัก ๗ นาง แต่ละนางนั้นยังมีเทพธิดาบริวารอีก ๗ นาง ล้วนเป็นรูปอันมารนิรมิตขึ้นทั้งสิ้น ทั้งยังร่ายรำชม้ายชายตาทำทีดังนางฟ้าจริงๆ
อีก ทั้งทุกหัวของช้างยังมีวิมานอันงดงาม ประดุจปราสาทเวไชยันต์ของท้าวอมรินทร์ เครื่องประดับอันมี ซองหาง กระวิน สายชนัก ล้วนถักร้อยด้วยสร้อยทอง ประดับโกมินล้อมแก้วนพเก้า ผ้าทิพย์ปกตระพองก็ร้อยประดับด้วยเพชร มีสายสร้อยห้อยเป็นพู่ลงทั่วทุกหูช้าง
ขุนมารโลทันซึ่งเป็นสารถีของอินทรชิตก็แปลงเป็นควาญท้ายช้าง
ทัพทั้ง ๔ เหล่า ต่างแปลงกายเป็นชาวฟ้าชาวสวรรค์ มีอารักขเทวดาและรุกขเทวดา (เทพารักษ์) เป็นทัพหน้า ครุฑ กินนร นาค เป็นทัพหลัง พวกฤาษีและวิทยาธร เป็นปีกซ้าย มีคนธรรพ์เป็นปีกขวา ตั้งทัพตามตำรับพิชัยสงคราม ถืออาวุธเกรียงไกรคือ หอก ธนู ดาบ กระบอง ครบมือ
แล้วเหาะเหินมาบนฟากฟ้า เคลื่อนพลเข้าสู่สมรภูมิ ฯ
ที่มา
http://www.oknation.net/blog/ThaiTeacher/2009/11/17/entry-1 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น